ตะกร้อ เซปักตะกร้อ ตะกร้อคืออะไร ความหมายของตะกร้อ

ตะกร้อ ตามพจนานุกรม หมายถึง ของเล่นชนิดหนึ่งที่สานด้วยหวายสำหรับเตะเล่น กีฬาเซปักตะกร้อ หรือ ตะกร้อ ยังไม่มีหลักฐานระบุที่แน่ชัดว่ามีจุดกำเนิดจากประเทศใด เพราะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง ไทย มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ ต่างคนต่างบอกว่าตนเองเป็นต้นกำเนิดขึ้นมาทั้งนั้น แต่สำหรับของไทย มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นิยมเล่นกันบนลานกว้าง ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น และลูกตะกร้อทำมาจากหวาย หรือบางทีก็มีเตะตะกร้อลอดห่วง อนุญาตให้ผู้เล่นใช้เท้า, เข่า, หน้าอก และศีรษะเพื่อสัมผัสลูก

ที่มาของเซปักตะกร้อ ตะกร้อ ประวัติตะกร้อ ชื่อเรียกตะกร้อแต่ละประเทศ

เซปักตะกร้อ มาจากคำสองคำ คำแรก “เซปัก” เป็นคำมลายูแปลว่า “เตะ” กับคำว่า “ตะกร้อ” เป็นคำไทยแปลว่า “ของเล่นสานด้วยหวาย ใช้เตะเล่น” ส.พลายน้อยอธิบายที่มาของคำว่า “ตะกร้อ” ว่าอาจเป็นคำจีนเก่าคือคำว่า “ทาก้อ” ใช้เรียกกีฬาที่คล้ายกัน ในภาษาไทยถิ่นเหนือเรียก “มะต้อ” ถิ่นอีสานเรียก “กะต้อ” และถิ่นใต้เรียก “ตร่อ” และอธิบายอีกว่า ต้อ ตร่อ และกร้อ เป็นคำเดียวกันแต่เพี้ยนเสียง ส่วนขุนวิจิตรมาตรา ให้ความเห็นว่า แต่เดิมคงเรียก “ตากล้อ” แปลว่า “ของที่สานเป็นตากลม ๆ” กรณีเดียวกันกับคำว่า “ผมหยิกหน้ากล้อคอสั้นฟันขาว” ซึ่งคำว่า “กล้อ” แปลว่า “กลม”ในภาษามลายูจะเรียกกีฬานี้ว่า “เซปักรากา” 

ตะกร้อนิยมเล่นในหลายประเทศเราจึงรวบรวมความหมายและชื่อเรียกของตะกร้อ พม่า สานด้วยหวาย เป็นแบบหลวมโปร่ง น้ำหนักเบา ขนาดเท่ารูตะกร้อของไทย เรียกว่า ชินลง ลาว สานด้วยหวายเส้นเล็ก มีรูถี่ยิบ น้ำหนักเบาขนาดเท่าลูกตะกร้อของไทย เรียกว่า กะต้อ มาเลเซีย,สิงคโปร์ , บรูไน สานด้วยหวาย มีสองหรือสามชั้น ไม่มีรูลูกเล็กอยู่ข้างใน น้ำหนักเบามีความยืดหยุ่นน้อย ขนาดเล็กกว่าลูกตะกร้อของไทย เรียกว่า รากา  อินโดนีเซีย เรียกว่า ราโก ฟิลิปปินส์เรียกว่า ซีป้า 

สาธารณรัฐประชาชนจีน นำเอาขี้เถ้ามาปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วห่อด้วย สำลีหรือผ้านุ่มขนหางไก่ฟ้ามาปัก ลักษณะคล้ายหัวหอมที่มีใบอยู่ เรียกว่า แตกโก

สาธารณรัฐเกาหลี นำเอาดินหรือขี้เถ้าห่อด้วยสำลีหรือผ้านุ่ม นำขนหางไก่ฟ้ามาปักลักษณะคล้ายหัวหอมที่มีใบอยู่คำเรียก เอามาจากภาษาจีน ไทย สานด้วยหวายเป็นตาๆ ลักษณะลูกทรงกลม เรียกว่า ตะกร้อ คนไทยนิยมเล่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง และตะกร้อข้ามตาข่าย (แบบไทย)

วิธีการเล่นตะกร้อ กติกาตะกร้อ ลักษณะการเล่นตะกร้อ การคิดคะแนนตะกร้อ

วิธีการเล่น จะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเริ่มเสิร์ฟ เตะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยที่ฝ่ายที่ได้ลูกตะกร้อต้องพยายามเตะตะกร้อให้ตกลงพื้นของอีกฝั่งให้ได้ ขณะที่ฝ่ายตั้งรับก็ต้องป้องกัน ไม่ให้ลูกตะกร้อตกลงบนแดนตัวเอง และเปลี่ยนสภาพเป็นฝ่ายบุกเพื่อทำให้ลูกตะกร้อตกลงบนแดนของอีกฝั่งให้ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ แต่ละฝ่ายจะมีโอกาสเตะลูกตะกร้อให้อยู่ในแดนตัวเองไม่เกิน 3 ครั้ง นับตั้งแต่ฝ่ายตรงข้ามเตะตะกร้อข้ามมา ส่วนการเสิร์ฟ ผลัดกันเสิร์ฟ ทีมละ 3 ครั้ง สลับกันไปเรื่อย ๆ

ตะกร้อ

การคิดคะแนนตะกร้อ

ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟหรือฝ่ายรับทำผิดกติกา (Fault) ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนและจะได้เป็นผู้เสิร์ฟ การชนะในแต่ละเซ็ทต้องได้คะแนน 21คะแนน ถ้าคะแนนเท่ากันที่ 20 : 20 ผู้ชนะต้องได้ คะแนนต่างกัน 2คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่เกิน 25คะแนน เมื่อคะแนนเท่ากัน 20 : 20 กรรมการผู้ ตัดสินต้องขานว่า“ดิวส์ไม่เกิน 25คะแนน” การแข่งขันต้องชนะกัน 2 เซ็ท มีการพักระหว่างเซ็ท 2 นาที  ถ้าแต่ละทีมชนะกันทีมละ 1 เซ็ท ต้องมีการแข่งขันในเซ็ทที่3 เรียกว่า ไทเบรก โดย แข่งขัน 15คะแนน เว้นแต่คะแนนเท่ากันที่14 : 14ผู้ชนะต้องมีคะแนนต่างกัน 2คะแนน และคะแนนสูงสุดไม่ เกิน 17คะแนน

สนามตะกร้อ อุปกรณ์ตะกร้อ

สนามตะกร้อ พื้นที่ของสนามมีความยาว 13.40 เมตร และกว้าง 6.10 เมตร จะต้องไม่มี สิ่งกีดขวางใดๆ วัดจากพื้นสนามสูงขึ้นไป 8 เมตร (พื้นสนามไม่ควรเป็นหญ้าหรือสนามทราย) เส้นสนาม ขนาดของเส้นสนามทุกเส้นที่เป็นขอบเขตของสนามต้องไม่กว้างกว่า 4 เซนติเมตร ให้ตีเส้นจากขอบนอกเข้ามาในสนาม และถือเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สนามแข่งขันด้วย เส้นเขตสนามทุกเส้นต้องห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 3 เมตร เส้นกลาง มีขนาดความกว้างของเส้น 2 เซนติเมตร โดยจะแบ่งพื้นที่ของสนาม ออกเป็นด้านซ้ายและขวาเท่าๆ กัน เส้นเสี้ยววงกลม ที่มุมสนามของแต่ละด้านตรงเส้นกลาง ให้จุดศูนย์กลางอยู่ที่ กึ่งกลางของเส้นกลางตัดกับเส้นขอบนอกของเส้นข้าง เขียนเส้นเสี้ยววงกลมทั้งสองด้าน รัศมี 90 เซนติเมตร ให้ตีเส้นขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 90 เซนติเมตร วงกลมเสิร์ฟ ให้มีรัศมี 30 เซนติเมตร โดยวัดจากขอบด้านนอกของเส้นหลัง เข้าไปในสนามยาว 2.45 เมตร และวัดจากเส้นข้างเข้าไปในสนามยาว 3.05 เมตร ให้ตรงจุดตัด จากเส้นหลัง และเส้นข้างเป็นจุดศูนย์กลาง ให้เขียนเส้นวงกลมขนาดความกว้าง 4 เซนติเมตร นอกเขตรัศมี 30 เซนติเมตร

ลูกตะกร้อ

ลูกตะกร้อ ก่อนหน้านี้ทำมาจากหวาย ต้องมีลักษณะลูกทรงกลม ในปัจจุบันทำด้วย ใยสังเคราะห์ถักสานชั้นเดียว ลูกตะกร้อที่ไม่ได้เคลือบด้วยยางสังเคราะห์ ต้องมีลักษณะ มีจุดตัดไขว้ 20 จุด  มีขนาดเส้นรอบวง 41-43 เซนติเมตร สำหรับผู้ชาย และ 42-44 เซนติเมตร สำหรับผู้หญิง 4.2.4 มีน้ำหนัก 170-180 กรัม สำหรับผู้ชาย และ 150-160 กรัม สำหรับผู้หญิง ลูกตะกร้ออาจมีสีเดียวหรือหลายสี หรือใช้สีสะท้อนแสงก็ได้ แต่จะต้องไม่เป็นสี ที่เป็นอุปสรรคต่อผู้เล่น (ลดความสามารถของผู้เล่น) ลูกตะกร้ออาจทำด้วยยางสังเคราะห์หรือเคลือบด้วยวัสดุนุ่มที่มีความคงทน เพื่อให้มีความอ่อนนุ่มต่อการกระทบกับผู้เล่น ลักษณะของวัสดุและวิธีการผลิตลูกตะกร้อ หรือการเคลือบลูกตะกร้อด้วยยาง หรือวัสดุที่อ่อนนุ่มต้องได้รับการรับรองมาตรฐานจาก ISTAF (สหพันธ์) ก่อนการใช้ในการแข่งขัน รายการแข่งขันระดับโลก นานาชาติ และการแข่งขันระดับภูมิภาคที่ได้รับรอง จาก ISTAF รวมทั้งในการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ เวิลด์เกมส์ กีฬาเครือจักภาพ เอเชี่ยนเกมส์ และ ซีเกมส์ ต้องใช้ลูกตะกร้อที่ได้รับการรับรองจาก ISTAF

ชนิดของตะกร้อ ท่าเตะตะกร้อ

ท่าเตะตะกร้อ มีหลายท่าที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามและความว่องไว ตามปกติจะใช้หลังเท้า แต่ผู้เล่นตะกร้อจะมีวิธีเตะที่พลิกแพลง ใช้หน้าเท้า เข่า ไขว้ขา (เรียกว่าลูกไขว้) ไขว้ขาหน้า ไขว้ขาหลัง ศอก ข้อสำคัญ คือ ความเหนียวแน่นที่ต้องรับลูกให้ได้เป็นอย่างดีเมื่อลูกมาถึงตัว ผู้เล่นมักฝึกการเตะตะกร้อด้วยท่าต่าง ๆ ลีลาในการเตะตะกร้อมี 4 แบบ คือ การเตะเหนียวแน่น (การรับให้ได้อย่างดี) การเตะแม่นคู่ (การโต้ตรงคู่) การเตะดูงามตา (ท่าเตะสวย มีสง่า) การเตะท่ามาก (เตะได้หลายท่า)

ชนิดเซปักตะกร้อ

ตะกร้อ ถือเป็นกีฬาที่ต้องใช้ทักษะในการเล่นและมีการเล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีความนิยมในการเล่นตะกร้อที่มากเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันมีนักกีฬาตะกร้ออยู่มากมาย อีกทั้งตะกร้อยังเป็นกีฬาละเล่นพื้นบ้านของเราอีกด้วย ซึ่งการเล่นตะกร้อนั้นก็ต้องใช้ทั้งทักษะ ความแข็งแรง และความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบท่าทางอีกด้วย โดยการเล่นตะกร้อในบ้านเรานั้นก็มีหลายประเภทถึง 8 ประเภท 8 ประเภทของตะกร้อไทยที่อยากให้รู้จัก ซึ่งแต่ละประเภทก็ได้รับความนิยมแตกต่างกัน อีกทั้งยังมีกฎกติกาที่ต่างกันไปบ้าง 

1.ตะกร้อวงเล็ก

2. ตะกร้อวงใหญ่

3. ตะกร้อเตะทน

4. ตะกร้อพลิกแพลง

5. ตะกร้อชิงธง

6. ตะกร้อลอดห่วง

7. ตะกร้อข้ามตาข่าย

8. เซปักตะกร้อ

ความสำเร็จตะกร้อไทย เหรียญทองตะกร้อไทย เหรียญทองเซปักตะกร้อ ซีเกมส์ อาเซียนเกมส์

ล่าสุดในการแข่งขัน การแข่งขันตะกร้อ ในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่ ศูนย์กีฬาภายในโอลิมปิก สเตเดียม คว้าทั้งหมด 5 เหรียญทอง จาก ทีมชุดชาย, คู่ทีมชุดหญิง, ทีม 4 คน ชาย ทีม 4 คน หญิง และ ทีมเดี่ยวชาย กวาดเหรียญทอง 100 เปอร์เซ็นต์ จากทั้งหมด 5 รายการที่ส่งเข้าร่วมการแข่งขั

ข่าวตะกร้อ ข่าวตะกร้อล่าสุด เว็บข่าวตะกร้อ ข่าวสารตะกร้อที่น่าสนใจ

กีฬาเซปักตะกร้อคืออีกกีฬาประจำชาติก็ว่าได้ นิยมเล่นและเชียร์ไม่เป็นรองจากมวยไทย แน่นอนว่าคนไทยก็มีฝืเท้าไม่แพ้ชาติใดในโลก เลยทำการแข่งขันส่งนักกีฬาจำนวนมาก เช่น ซีเกมส์ หรือแม้แต่ โอลิมปิก เว็บของเราเลยนำเสนอข่าวสารกีฬาตะกร้อที่น่าสนใจและน่าติดตามมาก สามารถรับชมข่าวตะกร้อไทย ข่าวตะกร้อล่าสุดได้เร็วกว่าที่ใด จากเว็บข่าวตะกร้อ แน่นอนว่าทุกคนจะไม่พลาดข่าวกีฬาตะกร้อแน่นอน

คำถามที่พบบ่อย ?

  • ตะกร้อเป็นกีฬาที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศเอเชีย โดยใช้ลูกบอลสองลูกในการเล่น และผู้เล่นจะต้องใช้ส่วนต่างๆของร่างกายในการเล่น เช่น ขา หัวเข่า และแขน เพื่อส่งลูกบอลไปยังฝั่งอีกฝ่าย
  • เว็บไซต์ Takraw-Story เป็นแหล่งรวมข้อมูลเกี่ยวกับตะกร้อทุกประเภท รวมถึงประวัติของกีฬาตะกร้อ กฎและกติกาในการเล่น วิธีการเล่นตะกร้อ ข่าวสารและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตะกร้อ รวมถึงวิดีโอและภาพถ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกีฬานี้
  • เล่นตะกร้อต้องมีทีมผู้เล่นอย่างน้อย 3 คน และใช้ลูกบอลสองลูก การเล่นตะกร้อจะใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น ขา หัวเข่า และแขน ในการส่งลูกบอลไปยังฝั่งอีกฝ่าย คะแนนจะได้เมื่อลูกบอลตกลงฝั่งอีกฝ่ายโดยไม่ให้ฝ่ายตรงข้ามส่งกลับมาได้
  • ตะกร้อเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากในประเทศเอเชีย และสามารถเล่นได้ทั้งในสนามกีฬา หรือสถานที่ที่มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเล่น นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันตะกร้อในระดับประเทศและระดับนานาชาติที่จัดขึ้นในหลายประเทศ
  • หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตะกร้อหรือต้องการติดต่อกับทีมงานของ Takraw-Story คุณสามารถใช้ช่องทางติดต่อที่มีอยู่บนเว็บไซต์ เช่น แบบฟอร์มติดต่อหรือที่อยู่อีเมลที่ให้ไว้เพื่อสอบถามหรือแจ้งปัญหาที่เกี่ยวข้อง